วิธีสอนเด็กให้ใช้เงินเป็น

วิธีสอนเด็กให้ใช้เงินเป็น
“เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน” เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดีที่มักจะถูกเปิดซ้ำไปซ้ำมาเมื่อวันเด็กกำลังจะวนมาถึงในทุกปี ถ้าหากใครที่จำเนื้อร้องได้จะพบว่า หนึ่งในหน้าที่ของเด็กที่ถูกกล่าวถึงในข้อ 8 ก็คือ “รู้จักออมประหยัด” ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าเรื่องการบริหารจัดการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นตั้งแต่เยาว์วัย
การสอนและปลูกฝังวินัยทางการเงินให้เด็ก ก็เหมือนกับการเรียนหนังสือ ซึ่งอาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในการถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่ความทรงจำของเด็กๆ และแทรกซึมจนเป็นปรกติวิสัย
สำหรับใครที่อยากส่งเสริมพฤติกรรมการใช้เงินที่ดีให้กับเด็กๆ ลองหยิบไอเดียการสอนเด็กเรื่อง “เงิน” ง่ายๆที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ออมสินสู่เป้าหมาย
การออมเงินนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด คือการสอนให้เด็กสะสมเงินเล็กๆ น้อยๆ รวมกันจนกลายเป็นเงินก้อนใหญ่
การออมเงินที่ดีจะต้องมีการตั้งเป้าหมายในการออมเงิน โดยการกำหนดเป้าหมายนั้น ไม่ใช่แค่ออมเงินเพื่อซื้อให้เพียงพอสำหรับซื้อบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น แต่ต้องชวนให้เด็กตั้งเป้าหมายออมในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย เช่น ออมเพื่อเรียนในสิ่งที่เด็กรู้สึกสนใจในอนาคต ออมเพื่อซื้อบ้านในฝัน ฯลฯ ที่มีความเป็นไปได้เพื่อจูงใจให้สนุกกับการออม ที่จะนำไปสู่นิสัยที่ดีในการบริหารจัดการเงินในอนาคตได้ด้วย
การออมเงินใส่กระปุกปิดทึบอาจทำให้หนูน้อยรู้สึกเบื่อ แต่ถ้าหากเราลองเปลี่ยนเป็นภาชนะอะไรสักอย่างที่ใสแจ๋วมองเห็นเงินที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะช่วยให้เด็กเห็นถึงผลของการมีวินัย และการนำเงินออกมานับเป็นระยะก็จะช่วยกระตุ้นความอยากสะสมเงินของเด็กให้มีมากขึ้นอีกด้วย

เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ
การทำให้เด็กๆ รู้สึกว่า เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องของพวกเขาด้วย การเปิดโอกาสให้รู้จักชั่งน้ำหนักผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น ให้โจทย์ง่ายๆ ตามสถานการณ์ เช่น “หากซื้อวิดีโอเกมนี้ เงินก็จะไม่พอซื้อรองเท้าคู่นั้น” เพื่อให้เด็กได้ลองตัดสินใจ ได้ชั่งน้ำหนัก ได้จัดลำดับความสำคัญในการเลือกซื้อ หรือหาทางออกใหม่ๆ และเปิดโอกาศให้เด็กได้อธิบายถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ในแบบของตัวเอง โดยมีผู้ปกครองช่วยสนับสนุนอยู่ข้างๆ อย่างเข้าอกเข้าใจ และไม่ตัดสินการตัดสินใจของพวกเขา

แสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งสิ่งของต้องมีค่าใช้จ่าย
เด็กๆ จะคุ้นเคยกับการเป็นผู้รับทั้งเงินและสิ่งของจากพ่อแม่ พวกเขามักจะคิดว่าเงินนั้นเป็นสิ่งที่ได้มาอย่างง่ายๆ ดังนั้นการพาพวกเขาให้มาอยู่ในสถานการณ์จริงที่ต้องใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินเพื่อเลี้ยงดูเขาในแต่ละวัน เดือน ปี
การแสดงให้เห็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่เพียงแค่การควักเงินในกระเป๋าจ่ายค่าของเล่นให้เด็กๆ แต่ทำให้เด็กมีส่วนในการใช้จ่ายด้วย เช่น นำเงินสะสมของพวกเขามาที่ร้าน ส่งเงินไปให้แคชเชียร์ด้วยตัวเอง การกระทำที่เรียบง่ายนี้จะมีผลกระทบมากกว่าการบรรยายให้เขาฟังหลายเท่าตัว

ให้ค่าตอบแทนพิเศษ
ในส่วนของการทำงานบ้านประจำวันต่างๆ เราควรให้เขาช่วยงานโดยไม่ต้องจ่ายผลตอบแทน เพื่อที่จะปลูกฝังเขาไม่ให้เป็นคนเห็นแก่เงิน หรือทำงานเพื่อผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว แต่นานๆ ครั้ง เราควรมีภารกิจพิเศษๆ และใช้ค่าตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ ในการสร้างแรงจูงใจให้เขาสามารถเห็นคุณค่าของเงินเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น การมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ การช่วยจัดสถานที่เพื่อจัดงานเทศการสำคัญ เป็นต้น
แนวคิดนี้จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจว่าเงินสามารถมาในรูปแบบของค่าตอบแทนได้ และเป็นการสร้างประสบการให้เขาได้เข้าใจว่า การทำงานเพื่อให้ได้เงินมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ผู้ปกครองสามารถใช้โอกาศนี้ในการสอนให้เด็กได้เห็นว่า ผู้ใหญ่นั้นการจะได้เงินมาเลี้ยงดูเขา เหน็จเหนื่อยเพียงใด เพื่อให้เขาได้เห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น
ติดตามบทความและข่าวสารของเราได้ที่
https://www.youtube.com/towardthegoal/
https://www.facebook.com/towardthegoal/